วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วัตถุดิบอาหารสัตว์

เขียนโดย Tiwaporn ที่ 05:18
ประเภทพลังงาน
-ข้าวโพด ( Corn )

       ข้าวโพด เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในอาหารไก่ และสุกรโดยเฉพาะในอาหารไก่จะนิยมใช้มากเพราะนอก จะเป็นแหล่งให้พลังงานแล้วในข้าวโพดเมล็ดสีเหลืองยังมีแคโรทีน ซึ่งช่วยทำให้สีของเนื้อไก่ และไข่แดงเข้มขึ้นตามความนิยมของผู้บริโภคอีกด้วย



-ปลายข้าว ( Rice broken )

        เป็นผลพลอยได้จากการสีข้าว ซึ่งจะได้ส่วนของปลายข้าว ประมาณ 15% ปลายข้าวจัดได้ว่าเป็นวัตถุดิบให้ พลังงานที่มีความสำคัญยิ่ง มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย


        เป็นผลพลอยได้จากการสีข้าวเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดหนึ่งที่ใช้กันมากในการประกอบสูตรอาหารสุกรหรือสัตว์ปีก


-มันสำปะหลัง ( มันเส้น, Cassava root )

          มันสำปะหลังเป็นพืชหัวที่นิยมปลูกกันมากนอกจากใช้เลี้ยงสัตว์ภายในประเทศแล้วยังมีเหลือพอ สำหรับส่ง ออกไปขายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มันสำปะหลังที่นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของมันเส้นซึ่งทำได้ โดยการนำหัวมันสำปะหลังสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้งประมาณ 3-5 วัน ส่วนมันสำปะหลังที่ส่งออกไป จำหน่ายยังต่างประเทศนั้นมักจะอยู่ในรูปของมันอัดเม็ด


-ไขมันจากสัตว์และน้ำมันจากพืช
          เป็นวัตถุดิบอาหารที่นิยมใช้เพื่อปรับระดับพลังงานในสูตรอาหารให้พอกับความต้องการของสัตว์โดยมักจะใช้ร่วมวัตถุดิบประเภทที่ให้พลังงานต่ำและมีเยื่อใยสูง เช่นกากปาล์มน้ำมัน ใบกระถิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้เพิ่มความน่ากิน ของอาหารและลดความเป็นฝุ่นของอาหารให้น้อยลงด้วย



ประเภทโปรตีน


-ปลาป่น ( Fish meal )
          ปลาป่นเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ให้โปรตีนสูงและมีคุณภาพดี ทำมาจากปลาเป็ดเศษปลาเล็กปลาน้อย หรือหัวปลาที่เหลือ จากโรงงานทำปลากระป๋อง ทำให้ปลาป่นที่ผลิตได้มีคุณภาพหลากหลาย ดังนั้นในการซื้อขายปลาป่น จึงมีการแบ่งเกรด ตามเปอร์เซนต์โปรตีนในปลาป่น โดยปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 1 จะมีโปรตีนไม่น้อยกว่า 60% ปลาป่น ชั้นคุณภาพที่ 2 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 55% และปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 3 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 50%
 -หางนมผง ( Skimmed milk )
          เป็นวัตถุดิบที่จัดได้ว่ามีคุณภาพโปรตีนดีที่สุดมีการย่อยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่มีราคาแพงมาก

-กากถั่วเหลือง ( Soybean meal )
          เป็นผลพลอยได้จากโรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลือง มี 2 ชนิด คือ กากถั่วเหลืองที่ได้จากขบวนการอัดน้ำมันและกากถั่วเหลือง ที่ได้จากขบวนการสกัดน้ำมันด้วยสารเคมี

-เมล็ดถั่วเหลือง ( Soybean seed )
          ในบางท้องที่หรือบางฤดูเมล็ดถั่วเหลืองจะมีราคาถูกมาก สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ได้เช่นกัน แต่ต้องนำไปผ่านความร้อนอาจจะโดยการต้ม นึ่งคั่ว หรือการเอ็กทรูด เพื่อทำลายสารยับยั้งทริปซินก่อน ถั่วเหลืองทั้งเมล็ด นอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนแล้วยังให้พลังงานสูงอีกด้วย เพราะยังไม่ได้สกัดน้ำมันออกไป เหมาะที่จะใช้ในอาหารลูกสัตว์ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตถั่วเหลืองทั้งเมล็ดออกมาจำหน่าย โดยใช้กรรมวิธีในการเอ็กทรูด เรียกกันโดยทั่วไปว่า ถั่วเหลืองเอ็กทรูด


-กากเมล็ดยางพารา ( Para rubber seed meal )
          เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดยางพาราของโรงงานผลิตน้ำมันพืช

-กากมะพร้าว ( Coconut meal )
          เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันมะพร้าว ของโรงงานผลิตน้ำมันพืช


-กากเมล็ดฝ้าย ( Cotton meal )
          เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันเมล็ดฝ้าย


-กากปาล์มน้ำมัน ( Oil palm meal )
          เป็นผลพลอยได้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม กากปาล์มน้ำมันที่พบในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ กากผลปาล์ม และกากเมล็ดปาล์ม กากผลปาล์มเป็นผลพลอยได้จากการนำปาล์มทั้งผลมาสกัดน้ำมันส่วนกากเมล็ดปาล์มเป็นผลพลอยได้จาก การนำเมล็ดปาล์ม ซึ่งแยกเอาส่วนของเปลือกนอกออกแล้วมาสกัดน้ำมัน


-กากเมล็ดทานตะวัน ( Sunflowere sed meal )
          เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน ซึ่งมีน้ำมันสูงประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์



-ใบกระถินป่น ( Leucaena leaf meal )
          เป็นวัตถุดิบอาหารที่เกษตรกรนิยมใช้มากชนิดหนึ่ง เพราะนอกจากจะหาซื้อได้ง่ายแล้วเกษตรกรยังสามารถ ผลิตได้เองอีกด้วย คุณภาพของใบกระถินป่นที่มีขายในท้องตลาด จะมีค่าของโปรตีนแตกต่างกันมากตั้งแต่ 14-30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีส่วนของก้านใบและกิ่งปะปนมากน้อยแค่ไหน



-ใบมันสำปะหลังแห้งป่น ( Casava leaves meal )
          เป็นส่วนใบมันสำปะหลังที่อยู่บริเวณยอดต้น นำมาตากแห้งแล้วป่น


-ใบผักตบชวา
          ผักตบชวาเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ใบผักตบชวาสดและแห้งสามารถนำมาใช้ เป็นอาหารสัตว์ได้



-ใบถั่วไมยรา
          ถั่วไมยราเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับกระถิน กระถินณรงค์และมะขามเทศเป็นพืชพื้นเมือง ที่ปลูกในเขตร้อน

-กากแคโนล่าหรือกากเรพซีด ( Rapeseed meal )
          คุณสมบัติ
                  - ได้จากขบวนการอัดน้ำมันของเมล็ดพืชตระกูลเรพ (rape) ซึ่งเป็นพืชเมืองหนาวส่วนใหญ่จะนำเข้ามาใช้ ผลิตเป็นอาหารสัตว์ทดแทนกากถั่วเหลืองบางส่วน
                  - มีโปรตีนประมาณ 38% ไขมัน 3.8% เยื่อใย 11.1% โดยน้ำหนักแห้ง
                  - มีกรดอมิโนเมไธโอนีล ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับกากถั่วเหลือง
-กากนมถั่วเหลือง ( Soy-milk residue )
          คุณสมบัติ
                   - เป็นผลพลอยได้จากขบวนการผลิตน้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลืองซึ่งในขบวนการผลิตนมถั่วเหลือง เมล็ดจะผ่านการต้มให้สุกจึงมีการทำลายสารยับยั้งทริปซินไปด้วย สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้
                  - มีโปรตีน ประมาณ 31.5% ไขมัน 8.88% เยื่อใย 12.2% โดยน้ำหนักแห้ง
                  - มีสัดส่วนกรดอมิโนใกล้เคียงกับกากถั่วเหลือง โดยระดับโปรตีนรวมต่ำกว่ากากถั่วเหลือง
-กากวุ้นเส้นหรือโปรตีนถั่วเขียว
          คุณสมบัติ

                กากวุ้นเส้นหรือโปรตีนถั่วเขียว เป็นเศษเหลือที่เป็นผลพลอยได้จากการทำวุ้นเส้น โดยแยกส่วนแป้งหรือเนื้อเมล็ดถั่วเขียวออกไปทำวุ้นเส้นส่วนที่เหลือจะเป็นพวกสารละลายโปรตีน เศษแป้งบางส่วน รวมทั้งเนื้อและเศษแป้งติดเปลือก หลังจากนั้นนำสารละลายไปตกตะกอน ซึ่งมีวิธีทำ 2 แบบ คือตกตะกอนด้วยการหมักผ่านท่อน้ำร้อน และตกตะกอนด้วยกรด ซึ่งจะได้กากวุ้นเส้นหลายชนิดแล้วแต่วิธีการทำ ดังนี้
                1. ชนิดตกตะกอนโดยใช้กรด (โดยทั่วไปใช้กรด acetic) ส่วนของโปรตีนที่ตกตะกอน แยกออกมาทำให้แห้ง ได้เป็นโปรตีนถั่วเขียวเข้มข้น ส่วนนี้มีโปรตีนสูงถึง 68 – 72% ลักษณะเป็นเกร็ดหรือผงสีน้ำตาลอ่อน ไม่มีกลิ่นเหม็น ราคาแพงกว่าชนิดตกตะกอนโดยการหมัก คุณสมบัติดีใกล้เคียงกับกากถั่วเหลือง
                2. ชนิดที่ตกตะกอนโดยการหมัก โดยการปั๊มสารละลายดังกล่าวผ่านท่อที่มีความร้อนสูงโปรตีนในน้ำจะตกตะกอนแล้วกรองแยกตะกอนมาทำให้แห้งแล้วบด จะได้เป็นก้อนเล็ก ๆ สีเขียวออกดำหรือน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นค่อนข้างเหม็น
                3. ตะกอน หรือกากวุ้นเส้นส่วนที่เป็นตะกอนโปรตีนปนกับเนื้อแป้ง และเปลือกติดมาบางส่วน มีโปรตีนประมาณ 36% ในสภาพแห้ง
                4. ตะกอนหยาบส่วนที่เป็นเปลือก มีเนื้อแป้งปนเล็กน้อย จะมีโปรตีนประมาณ 18-21%
-กากเบียร์ ( brewer’s grain )
          คุณสมบัติ

                เป็นส่วนเหลือจากขั้นตอนแรกของการทำเบียร์ จากการบ่มข้าวบาร์เลย์หรือข้าวมอลท์ ที่สเปรย์น้ำให้เมล็ดงอก จากนั้นจะผ่านขบวนการต้มคั้นน้ำแป้งและน้ำตาลออกเพื่อไปทำเบียร์ ส่วนที่เหลือคือกากมอลท์หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กากเบียร์สด ลักษณะเป็นกากอ่อนนุ่ม ซึ่งในสภาพสดจะมีความชื้นสูงประมาณ 70-80% กากเบียร์สด จะเก็บไว้ใช้ได้ไม่นานเหลือมักบูดเน่ามีเชื้อราง่าย เมื่อนำไประเหยน้ำออกจะได้กากเบียร์แห้ง เก็บไว้ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้



ประเภทแร่ธาตุ

-เปลือกหอยป่น ( Oyster shell meal )
         ใช้เป็นแหล่งในการให้ธาตุแคลเซียมแต่เพียงอย่างเดียว มีระดับแคลเซี่ยมประมาณ 38-40 เปอร์เซ็นต์




-กระดูกป่น ( Bone meal )
          ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต ใช้เป็นแหล่งในการให้ทั้งธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส โดยให้แคลเซี่ยม ประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ และฟอสฟอรัส ประมาณ 12-18 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปแล้ววัตถุดิบประเภทนี้จะมีราคาแพงกว่าพวกที่ให้แร่ธาตุแคลเซี่ยมเพียงอย่าง เดียวดังนั้นควรพิจารณาใช้เพื่อเป็นแหล่งในการให้ในการให้ธาตุฟอสฟอรัสให้เพียงพอกับต้องการของสุกรและสัตว์ปีกก่อนและเลือกใช้เปลือกหอยป่น หินปูน หรือหินฝุ่นเพื่อเป็นแหล่งให้แร่ธาตุแคลเซี่ยมเสริมแก่สัตว์
-เกลือแกง ( Salt )
          เป็นแหล่งในการใช้ธาตุโซเดียม และคลอไรด์ โดยทั่วไปจะเสริมในสูตรอาหารประมาณ 0.3-0.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าในสูตรอาหารนั้นมีปลาป่นผสมอยู่ด้วยในระดับสูงจะต้องลดระดับเกลือลงมา



อาหารหยาบ/วัสดุเหลือใช้

-ฟางข้าว
          คุณสมบัติ

              - ผลพลอยได้จากการปลูกข้าว มีมากหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับโค-กระบือในช่วงแล้ง
              - มีคุณค่างทางอาหารต่ำ มีโปรตีน เยื่อใย และค่าโภชนะย่อยได้ทั้งหมด (TDN) ประมาณ 2.76%, 36.17% และ 45% ของวัตถุแห้งตามลำดับ
              - อัตราการย่อยได้ต่ำ ทำให้ฟางอยู่ในกระเพาะนาน สัตว์จึงได้รับโภชนะต่าง ๆ น้อย ถ้าให้สัตว์กินฟางอย่างเดียวนาน ๆ จะทำให้น้ำหนักตัวลด

1 ความคิดเห็น:

Unknown on 13 มกราคม 2560 เวลา 02:51 กล่าวว่า...

มีอีกไมครับ

แสดงความคิดเห็น

((...กิจกรรม...))

 

วัตถุดิบอาหารสัตว์ Copyright © 2010 Designed by Ipietoon Blogger Template Sponsored by Emocutez